ท่อร้อยสายไฟ จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญสำหรับ การเดินสายไฟ ภายในอาคารทั่วไปเป็นอย่างมาก นอกจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ การเดินสายไฟ เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถช่วยปกป้องสายไฟจากการถูกกระแทกหรืออันตรายที่อาจทำให้สายไฟเกิดการชำรุดได้
เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่า ท่อร้อยสายไฟ มีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
การใช้งาน ท่อร้อยสายไฟ ในแต่ละประเภท
1.ท่อโลหะขนาดบาง หรือ ท่ออีเอ็มที (EMT ; Electrical Metallic Tubing)
ท่อ EMT ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่อันตราย ระบบแรงสูง หรือบริเวณ ที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา
2.ท่อโลหะขนาดกลาง หรือ ไอเอ็มซี (IMC ; Intermediate Metallic Conduit)
ท่อ IMC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ , 3 1/2″ และ 4″ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา
3.ท่อหนาพิเศษ หรือ ท่ออาร์เอสซี (RSC ; Rigid Steel Conduit)
ท่อ RSC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ , 3 1/2″, 4″ ,5″ และ 6″ การดัดท่อชนิดนี้ใช้ hickey หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิกที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูปคล้ายกับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
4.ท่อโลหะชนิดอ่อน (Flexible Metal Conduit)
ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้ากับดวงโคม มอเตอร์หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″
5.ท่อโลหะชนิดอ่อนกันน้ำ (Raining Flexible Metal Conduit)
เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหายมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″
6.ท่อพีวีซี (PVC) สีเหลือง
ทำด้วยพลาสติกพีวีซี ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ แต่ข้อเสียคือขณะที่ถูกไฟไหม้จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนเราออกมาด้วย และไม่ทนต่อแสงอัลตร้าไวโอเล็ตทำให้ท่อกรอบเมื่อโดนแดดเป็นเวลานาน ท่อที่ใช้ในงานไฟฟ้ามีสีเหลือง มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″ และยาวท่อนละ4 เมตร
ท่อ PVC ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ห้ามใช้ใน บริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาด คือ 3/8″ , 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ และ 4″ สำหรับท่อ ขนาด 3″ และ 4″ มีความยาว 2 ขนาดคือ 4 และ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
7.ท่อ HDPE (High Density Polyethylene)
ทำด้วยพลาสติก polyethylene ชนิด high density ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีทั้งแบบผิวเรียบ และแบบลูกฟูก ใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง, บนฝ้าในอาคาร, เดินสายใต้ดินทั้งแรงดันต่ำและ แรงดันสูงปานกลาง ทนต่อแรงกดอัดได้ดี ข้อได้เปรียบของท่อชนิดนี้ คือความอ่อนตัวจึงไม่ต้องดัดท่อทำให้เดินท่อได้สะดวกรวดเร็ว ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2″ ขึ้นไป
เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานไฟฟ้า
1. ไขควง ได้แก่ ไขควงเทศไฟและไขควงใช้ขันสกรูทั่วไป
ภาพที่ 1 ไขควงชนิดต่าง ๆ
2. คีม ได้แก่ คีมตัด คีมปากแหลม คีมรวม คีมปอกสาย คีมย้ำหางปลา คีมล็อก
ภาพที่ 2 คีมแบบต่าง ๆ
3. มีดปอกสาย มักราคาสูง แต่ควรใช้เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน แต่ทั่วไปนิยมใช้คัตเตอร์ เพราะสะดวกและง่ายต่อการจัดหาง่าย
ภาพที่ 3 มีดปอกสายและคัตเตอร์
4. ค้อนเดินสายไฟฟ้า ขนาดกระชับมือ บริเวณค้อนจะออกแบบให้แหลมมนเพื่อใช้ตอกตะปูในบริเวณแคบ ๆ
ภาพที่ 4 ค้อนเดินสายไฟฟ้า
5. บิดหล่า ใช้สำหรับเจาะแผงไม้ต่าง ๆ เช่น ใช้เจาะรูก่อนที่จะติดตั้งคัตเอาต์
ภาพที่ 5 บิดหล่า
6. บักเต้า ใช้สำหรับตีเส้นให้ตรงหรือได้ระดับก่อนที่จะตอกตะปูเดินสายไฟฟ้าวิธีงาน
ภาพที่ 6 การใช้ปักเต้า
7. สว่าน ปัจจุบันนิยมใช้สว่านไฟฟ้า ประกอบสว่านเจาะไม้ เหล็ก และสว่านกระแทกใช้เจาะปูน คอนกรีต สำหรับงานเจาะคอนกรีตส่วนใหญ่จะนิยมใช้สว่านโรตารี่ ขนาดของสว่านไฟฟ้าเรียกตามขนาดของหัวจับ เช่น ขนาด 3 หุน 4 หุน เป็นต้น
ภาพที่ 7 สว่างที่ใช้ในงานไฟฟ้าทั่วไป
8. ตลับเมตร ระดับน้ำและลูกดิ่ง
ตลับเมตร ใช้วัดระยะ มีหน่วยเป็นเซนติเมตร (cm) และเป็นนิ้ว (inch)
ระดับน้ำ ใช้ตรวจสอบความเที่ยงตรงในงานเดินสายไฟฟ้าและการดัดท่อ
ลูกดิ่ง ใช้จับระดับในแนวตั้ง น้ำหนักขนาด 400 กรัม
9. เหล็กนำศูนย์และเหล็กส่ง
เหล็กน้ำศูนย์ ผลิตจากเหล็กแข็งใช้สำหรับตอกนำบนอาคารที่ฉาบด้วยปูนซีเมนต์
เพื่อป้องกันตะปูงอ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติงาน ในทาง
ปฏิบัติจะใช้ตะปูคอนกรีตโดยการเจียนปลายให้แหลม
เหล็กส่ง ใช้สำหรับตอกตะปูในที่แคบ ไม่สามารถใช้ค้อนตอกหัวตะปูได้โดยตรง
10. สิ่ว ใช้บากแป้นไม้รองสวิตช์ หรือแผงคัตเอาต์ เพื่อให้สามารถสอดสายเข้าไปได้ที่ใช้งานทั่วไป คือ สิ่วปากบาง และสิ่วเดือย
ภาพที่ 8 สิ่ว
11. เลื่อย ใช้ตัดไม้ขนาดต่าง ๆ
ภาพที่ 9 เลื่อยที่ใช้งานในการเดินสายไฟฟ้า
12. มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดอเนกประสงค์ เพื่อตรวจสอบสภาพสายไฟฟ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าอุปกรณ์และวัสดุทุกชิ้นที่จะนำไปติดตั้งอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานด้วยความปลอดภัย
เครื่องมือสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
1. เครื่องมือดัดท่อ (bender)
2. คัดเตอร์ตัดท่อ (cutter)
3. ปากกาจับท่อ (pipe vise stands)
4. เครื่องมือต๊าปเกลียว (pipe threader)
5. เครื่องมือลบคมท่อ (reamer) ใช้สำหรับลบคมบริเวณปลายท่อ
6. ลวดดึงสายไฟ (fish tape) มีสองขนาดหรือยาว 25 ฟุต 50 ฟุต และ 100 ฟุต
7. น็ตกเอาต์พั้นซ์ (knock out punch) เจาะในตู้โหลดเซ็นต์เตอร์ หรือกล่องต่อสาย ต่าง ๆ
8. เครื่องเจียร
9. ประแจ เช่น ประแจเลื่ยน ประแจคอม้า เป็นต้น
ภาพที่ 10 เครื่องมือสำหรับเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
อุปกรณ์และวัสดุ
อุปกรณ์และวัสดุสำหรับเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย
1. เข็มขัดรัดสาย หรือที่เรียกทั่วไปว่า คลิป (clip) หรือกิ๊ป ผลิตจากอะลูมิเนียมขั้นรูปเป็นแผ่นบาง ๆ แต่มีความเหนียว มีหลายขนาด เช่น เบอร์ ¾ ,0 ,1 ,1½ , 2, 2 ½, 3, 4, 5 และเบอร์ 6 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งแต่เบอร์ 3 ถึงเบอร์ 6 จะมีสองรู ขนาดอื่น ๆ จะมีรูเดียวสำหรับตอกบนอาคารที่เป็นไม้
2. ตะปู ขนาด 3/8 นิ้ว 5/16 นิ้ว ใช้ตอกบนอาคารฉาบปูน และขนาด ½ นิ้วสำหรับตอกบนอาคารที่เป็นไม้
3. พุก (Fixer) ใช้งานคู่กับสกรูเพื่อให้การจับยึดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ มีความแข็งแรง พุกที่ใช้งานทั่วไปมี 3 แบบ คือ
3.1 พุกพลาสติก ใช้กับงานติดตั้งขนาดเล็ก เช่น ติดตั้งแป้นไม้ แผงคัตเตอร์จะใช้พุกขนาด M7 (เอ็ม – เจ็ด) กล่าวคือ ต้องใช้ดอกสว่านขนาด 7 มิล และใช้สกรูขนาด 5 – 6 มม. นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่น ๆ เช่น M8 จะโตกว่า M7
3.2 พุกตะกั่ว ใช้กับงานขนาดกลาง เนื่องจากทนแรงกดและน้ำหนักได้ดีกว่า เช่น การติดตั้งตู้โหลดเซ็นเตอร์
3.3 พุกเหล็ก หรือที่เรียกว่า โบลต์ (bolt) ใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงทุกประเภท เนื่องจากรับน้ำหนักได้ดี แต่มีราคาแพง
ภาพที่ 11 พุกแบบต่าง ๆ
4. สายไฟฟ้า (wire) ในงานติดตั้งไฟฟ้าในอาคารจะเป็นสายแบนแกนคู่ (สาย VAF) หุ้มด้วยฉนวนพีวีซีสองชั้นลักษณะภายนอกมีสีขาว
รายละเอียดเกี่ยวกับอักษรและตัวเลขที่ระบุไว้บนสายไฟฟ้ามีความหาย ดังนี้
2 x 2.5 SQ.MM หมายถึง ขนานของสายไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้
2 : จำนวนสายทองแดง
2.5 : SQ.MM ขนานเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย
ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นตารางมิลลิเมตร
VAF หมายถึง ชนิดของสายเป็นแบบ วีเอเอฟ
300 V หมายถึง ทนแรงดันไฟฟ้าได้ไม่เกิน 300 โวลต์
70 c หมายถึง ทนความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส
PVC/PVC หมายถึง หุ้มด้วยฉนวนที่เป็นพีวีซี (PVC: poly Vinyl chloride)
TIS 11-2531 หมายถึง มาตรฐานที่รับรอง
TABLE 2 หมายถึง ตารางละเอียดเกี่ยวกับไฟฟ้าของบริษัทที่ผลิตสายไฟฟ้า
5. สกรู เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตะปูเกลียวปล่อย มีสองชนิดคือ ชนิดหัวแฉก และชนิดหัวแบน
6. แป้นไม้ ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด อาทิ 4 x 6 นิ้ว, 8 x 10 นิ้ว เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตแป้นพลาสติกออกมาใช้งานควบคู่กับแป้นไม้ ซึ่งได้รับความนิยมใกล้เคียงกัน
7. สวิตช์ ใช้สำหรับปิด – เปิดวงจรไฟฟ้าใด ๆ เช่น ใช้ปิด – เปิดวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ คุณลักษณะของสวิตซ์ขึ้นอยู่กับพิกัดกระแส พิกัดแรงดัน สวิตซ์แบ่งได้เป็นสองชนิดตามลักษณะการทำงานและการติดตั้ง
7.1 แบ่งตามลักษณะการทำงาน แต่ละบทจะถูกนำไปใช้งานตามคุณสมบัติ
สวิตซ์หนึ่งขาสับทางเดียว (Single pole single throw switch) หรือ S.P.S.T เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สวิตช์ทางเดียว ใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว (single phase)
สวิตซ์สองขาสับทางเดียว (Double pole single throw switch) หรือ D.P.S.T ใช้เป็นอุปกรณ์ตัดตอนในระบบเฟสเดียว ตัวอย่างเช่น คัตเอาต์ที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป
สวิตซ์สองขาสับสองทาง (Double pole double throw switch) หรือ D.P.D.T
สวิตซ์สามขาสับทางเดียว (Triple pole single throw switch) หรือ T.P.S.T ใช้เป็นอุปกรณ์ตัดตอนระบบสามเฟส (Three phase) ตัวอย่างเช่น คัตเอาต์สามเฟส
สวิตซ์สามขาสับสองทาง (Triple pole Double throw switch) หรือ T.P.D.T ใช้กับระบบสามเฟส
7.2 แบ่งตามลักษณะการติดตั้ง แบ่งออกเป็นสองแบบ คือ
แบบติดลอย กล่องสวิตซ์จะยึดกับผนังอาคารโดยตรง
แบบฝังกับผนัง กล่องสวิตซ์จะฝังไว้ในผนังอาคาร และส่วนใหญ่จะออกแบบให้ทนกระแสได้สูงแบบติดลอย
8. เต้ารับเรียกอีกอย่างว่า ปลั๊กตัวเมีย ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเพื่อถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ ลักษณะการติดตั้งเหมือนกับสวิตซ์
9. เต้าเพดาน ใช้สำหรับห้อยดวงโคมลงมาจากเพดานเพื่อให้แสงสว่างเฉพาะจุด ก่อนจะห้อยโคมลงมาต้องขมวดปมสายไว้ในเต้าเพดาน เพื่อรองรับน้ำหนักของดวงโคม
อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
1. ท่อร้อยสาย (conduit) ปรกอบด้วยท่อโลหะหนา (Rigid Steel Conduit; RSC) หนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit; IMC) และท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing; EMT) ท่อโลหะอ่อน ท่อพีวีซี ท่อชนิดกันน้ำได้
ภาพที่ 12 ท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า
2. กล่องต่อสาย (box) กล่องต่อสายที่ใช้ประกอบท่อร้อยสาย มีดังนี้
2.1 handy box ใช้สำหรับติดตั้งสวิตซ์และเต้ารับ
ชนิด Handy box | ขนาด (นิ้ว) |
แบบตื้น | 2 x 2 x 1 – ½ |
แบบลึก | 2 x 2 x 1 – ½ |
ภาพที่ 13 Handy box
2.2 square box ส่วนใหญ่จะติดตั้งในตำแหน่งที่ต้องการต่อสาย
ชนิด square box | ขนาด (นิ้ว) |
แบบตื้น | 4 x 4 x 1 – ½ |
แบบลึก | 4 x 4 x 2 |
ภาพที่ 14 square box
2.3 octagon box ใช้ติดตั้งบนเพดานหรือติดลอย
ชนิด octagon box | ขนาด (นิ้ว) |
แบบตื้น | 3 – ½ x 3 x ½ x 1 – ½ |
แบบลึก | 3 - ½ x 3 - ½ x 2 |
ภาพที่ 15 octagon box
3. ฝาปิดกล่อง (box cover)
3.1 ฝาปิด handy box ใช้สำหรับครอบสวิตซ์ ปลั๊ก
ภาพที่ 16 ฝาปิดกล่องสวิตซ์ handy box
3.2 ฝาปิด square box
ภาพที่ 17 ฝาปิดกล่องต่อสายแบบ square box
3.3 ฝาปิด octagon box
ภาพที่ 18 ฝาปิดกล่องพักสาย
4. คอนเนคเตอร์ (connector) ใช้เชื่อมต่อระหว่างท่อกับกล่องต่อสาย
ภาพที่ 18 คอนเนคเตอร์ แบบต่าง ๆ
5. ล็อกนัท (lock nut) ผิวด้านในจะทำเป็นเกลียว ใช้ยึดท่อเข้ากับกล่องต่อสาย
ภาพที่ 19 ล็อกนัท
6. บุชชิ่ง (bushing) บุชชิ่งสวมปลายท่อ IMC, RSC และ Connector ใช้ป้องกันท่อไฟฟ้าขูดกับฉนวน
ภาพที่ 20 บุชชิ่ง
7. ข้อต่อหรือคัปปลิ้ง (coupling) ใช้ต่อท่อสองท่อนเข้าด้วยกัน มีทั้งแบบสกรูและแบบเกลียวหมุน
ภาพที่ 21 ข้อต่อหรือคัปปลิ้ง
8. แคล๊มป์ (Clamp) เรียกอีกอย่างว่า สแตร๊ป (Strap) ใช้สำหรับท่อให้แนบชิดกับผนัง
ภาพที่ 22 แคล๊มป์หรือสแตร๊ป
9. คอนดูเลต (Condulet) ใช้สำหรับเดินสายหักมุม ข้ามสิ่งกีดขวางของท่อโลหะหนา (RSC) มีหลายลักษณะ
ภาพที่ 23 คอนดูเลตแบบต่าง ๆ
10. หัวงูเห่า (service entrance) เรียกอีกอย่างว่า ฝาครอบท่อรับสาย ใช้สำหรับนำสายเมนจากภายนอกเข้าสู่ตัวอาคารและช่วยป้องกันความชื้น
ภาพที่ 24 หัวงูเห่า
11. อี.วาย.เอส (E.Y.S) ข้อต่อแยกสามทาง สำหรับท่อโลหะหนา และใช้อุด Compound เพื่อป้องกันไฟไหมสาย
ภาพที่ 25 อี.วาย.เอส
12. รางตัวชี (C-Channel) ใช้สำหรับยึดท่อจำนวนหลาย ๆ ท่อน บนรางตัวซี เพียงตัวเดียว ทำให้สะดวกในการติดตั้งและวัดวางท่อเป็นระเบียบสวยงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น